จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

RORMYEN.BLOGSPOT.COM

RORMYEN.BLOGSPOT.COM

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

วิตามินเพื่อสุขภาพ เพื่อชีวีแข็งแรงอย่างยืนยาวด้วยสารอาหารจากผักพื้นบ้าน

*มากินผักพื้นบ้าน เพื่อร่างกายแข็งแรงอย่างยาวนาน *
สารอาหารที่ให้พลังแก่ชีวิต ร่างกายต้องได้รับอย่างเพียงพอ
(1)วิตามินA(เรตินอล):จำเป็นต่อการเจริญเติบโตที่เป็นปกติของเด็ก จำเป็นต่อการมี
สายตาที่ดี และสุขภาพที่ดีของผิวหนัง ตา และผม โดยทั่วไปจำต่อสุขภาพ
ของโครงสร้างของเยื่อบุผิวหนัง
(2)วิตามินB1(ไธอะมิน):จำเป็นต่อการทำงานของหัวใจ ระบบประสาท กล้ามเนื้อ
และการเจริญเติบโต ร่างกายต้องการเพื่อให้ได้พลังงานจากอาหาร
(3)วิตามินB2(ไรโบฟลาวิน):จำเป็นต่อสุขภาพที่ดีของผิวหนัง สัมพันธ์กับ
ความของตาที่มีต่อแสง จำเป็นต่อการสร้างและการคงสภาพเนื้อเยื่อของร่างกาย
(4)วิตามินB3(ไนอะซิน):จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปงอาหารเป็นพลังงาน
ช่วยการทำงานของระบบประสาท ช่วยเจริญอาหาร และสุขภาพที่ดีของผิวหนัง
(5)วิตามินB5(กรดแพนโธทีนิค):ร่างกายต้องการเพื่อสุขภาพที่ดีของผิวหนังและผม
จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อทุกส่วน
(6)วิตามินB6(ไพริด๊อกซิน,ไพริด๊อกซามีน,ไพริด๊อกซอล):จำต่อสุขภาพที่ดี
ของเหงือกและฟัน หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง และระบบประสาท จำเป็นต่อการ
เปลี่ยนแปลงอาหารเป็นพลังงาน
(7)วิตามินB12(ไซยาโนโคบาลามิน):จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด ช่วยการทำงาน
ของระบบประสาท และการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ในเด็ก
(8)กรดโฟลิค :ทำงานร่วมกับวิตามินบีสิบสอง จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด
และสภาพที่สมบูรณ์ของระบบย่อยอาหาร
(9)โคลีน :จำเป็นต่อการทำงานของตับ โดยเฉพาะการเผาผลาญไขมัน
(10)อิ นอซิทอล: ทำงานร่วมกับโคลีน จำเป็นต่อการทำงานของตับ
และการเผาผลาญไขมัน
(11)ไบโอติน: จำเป็นต่อความสมบูรณ์ของผิวหนัง เยื่อบุผิว เม็ดเลือดแดง
และระบบหลอดเลือดของหัวใจ
(12)วิตามิน C(กรดแอสคอบิค):จำเป็นต่อสุขภาพที่ดีของเหงือก ฟัน และกระดูก
ช่วยให้เซลต่างๆ ของร่างกายและหลอดเลือด แข็งแรง ช่วยสร้างคอลาเจนเป็นกาว
ที่ยึดเซลล์ เพิ่มความต้านทานโรค ไม่เกิดอาการแพ้ต่างๆ ทำให้ผิวสวยแผลหายเร็ว
ป้องกันรักษา ช่วยสกัดเซลล์มะเร็ง
(13)วิตามิน D2(แคลซิเฟอรอล):จำเป็นต่อกระดูก ฟันทีแข็งแรง ช่วยให้มีการ
นำแคลเซี่ยม นำฟอสฟอรัสมาสร้างกระดูก และฟันที่มีสุขภาพดี
(14)วิตำมิน E(โทโคฟีรอลส์): เป็นสารยับยั้งปฏิกริยาอ๊อกซิเดชั่น ของไขมันชนิดไม่
อิ่มตัวในเนื้อเยื่อไขมัน จำเป็นต่อความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง ให้การปกป้องสาร
อาหารอื่นๆ เช่นปกป้องวิตามินเอเพื่อให้ร่างกาย นำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ช่วยชลอความชรา ช่วยการจับตัวของรกกับผนังมดลูกให้กล้ามเนื้อแข็งแรง พิ่มการ
การไหลเวียนของเลือด ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
สารเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย
(1)ธาตุแมกนีเซี่ยม: ช่วยในการสร้างโปรตีน และรักษาสภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ
(2)ธาตุสังกะสี: จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และภาวะที่เจริญเต็มที่ของอวัยวะสืบพันธุ์
ช่วยรักษาสุขภาพที่ดีของผิวหนัง สำคัญต่อการทำงาน ของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในการ
รับรู้รส และการรับรู้กลิ่น
(3)ธาตุไอโอดีน: สำคัญต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เป็นส่วนประกอบของ
ฮอร์โมนไธร๊อกซีน ซึ่งเป็นตัวหลักในการควบคุมพลังงานที่ได้จากการเผาผลาญ
(4)ธาตุเหล็ก: จำเป็นต่อการรักษาสภาพที่ดีของเลือด เป็นส่วนหนึ่งของสีแดงที่อยู่
ในเม็ดเลือด ที่มีหน้าที่นำพาอ๊อกซิเจน จากปอดไปยังทุกส่วนของร่างกาย และนำพา
คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่เป็น ของเสียกลับสู่ปอดเพื่อขับออกจากร่างกาย ป้องกันโลหิตจาง
(5)ธาตุโปแตสเซี่ยม: เป็นเกลือแร่สำคัญในระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ
นอกจากนี้ยังช่วยรักษา สมดุลย์กรด-ด่างของ ของเหลวในร่างกาย
(6)ธาตุโมลิบดินัม: ช่วยในการเผาผาญไขมัน คาร์โบไฮเดรต เป็นส่วนสำคัญของ
เอนไซม์ที่มีหน้าที่ใน การนำธาตุเหล็กมาใช้ประโยชน์ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี
(7)ธาตุแมงกานีส: ช่วยขจัดความเมื่อยล้า ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ
ทำให้ความจำดีขึ้น และลดอาการไวของประสาทที่มีต่อสิ่งเร้า(ลดอาการความโกรธง่าย)
(8)ธาตุทองแดง: เป็นแร่ธาตุจำเป็นในส่วนต่างๆของร่างกาย และมีความสำคัญ
ในการช่วยสังเคราะห์ ฮีโมโกลบิน ร่วมกับธาตุเหล็ก
(9)ธาตุฟอสฟอรัส: เป็นสารจำเป็นในเลือด และอวัยวะต่างๆ
ของร่างกายช่วยรักษาสมดุลย์ ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
(10)ธาตุแคลเซี่ยม: เป็นสารจำเป็นต่อโครงสร้างกระดูกและฟัน ถ้าขาด
จะทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน ช่วยให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ ทำให้ฟันแข็งแรง
(แคลเซี่ยมที่ดี มีมากในใบยอ และในมะพร้าวอ่อน ในงาดำมีมากที่สุด)
(11)เซซามอล: ชลอความชรา , ป้องกันการเกิดมะเร็ง
********* ผักพื้นบ้านมีสารอาหารธรรมชาติสูงมาก ************
1.กลุ่มผักพื้นบ้านที่มีแคลอรี่ต่ำ:

( ถ้ารับประทาน 100กรัม ร่างกายได้รับแคลอรี่ตามตัวเลขข้างล่าง)
-สายบัว รับประทาน100กรัมจะได้แคลอรี่ (6กรัม)
-ผำ รับประทาน100กรัมจะได้แคลอรี่ (7 กรัม)
-คูน รับประทาน 100กรัมจะได้แคลอรี่ (9กรัม)
-พริกหนุ่ม รับประทาน100กรัมจะได้แคลอรี่ (11กรัม)
-ตะลิงปลิง รับประทาน100กรัมจะได้แคลอรี่ (11กรัม)
(ตัวเลขในวงเล็บเป็นจำนวนกรัมของแคลอรี่) ขิงอ่อน (11) บวบหอม(12) ขาเขียด(13)
บวบงู (14) ผักขี้หูด(15) ยอดอ่อนฟักทอง(16) มะระขี้นกผลเล็ก(16) บวบเหลี่ยม(17)
ยอดอ่อนผักหนามผ(18) ใบผักแว่น(18) ถั่วพู(19) ผักปลัง(20) ผักกูดเขียว(22)
ขิงแก่(22) ขมิ้นขาว(22) หัวปลี หรือปลีกล้วย(25) แขยง(26) หน่อไผ่ตง(29)
หน่อไผ่ป่า(29) แมงลัก(30) ***


2.กลุ่มผักพื้นบ้านที่มีโปรตีนสูง:

(ถ้ารับประทาน100กรัมจะได้โปรตีนตามตัวเลขในวงเล็บ)
-ยอดชะอม รับประทาน100กรัมได้ (โปรตีน9.5กรัม)
-เมล็ดชะเนียงหรือลูกเนียง รับประทาน100กรัมได้ (โปรตีน8.8กรัม)
-ยอดกระถิน รับประทาน100กรัมได้ (โปรตีน8.4กรัม)
ยอดแค (โปรตีน8กรัม) ใบขี้เหล็ก (โปรตีน7.7กรัม) กระเฉด (โปรตีน6.4กรัม)
ยอดมะระ (โปรตีน5.8กรัม) ใบย่านาง (โปรตีน5.6กรัม) ใบชะพลู (โปรตีน5.4กรัม)


3. กลุ่มผักพื้นบ้านที่มีธาตุเหล็กสูง:
รับประทาน100กรัมจะ(ได้ธาตุเหล็กตามตัวเลขในวงเล็บ)
-ใบผักแว่น(ธาตุเหล็ก25.2มิลลิกรัม).......... -ใบแมงลัก(17.2มิลลิกรัม)-

ยอดมะกอก(9.9มก.) .....-ยอดกระถิน (9.2มก.) ..-ดอกโสน (8.2มก.)-
ใบชะพลู(7.6มก.)....... -มะเขือพวง (7.1มก).... -ใบขี้เหล็ก (5.8มก.)
-ผักกระเฉด (มีธาตุเหล็ก 5.3มก.)

4. กลุ่มผักพื้นบ้านที่มี ไฟเบอร์สูง

ส่วนที่รับประทานได้ 100กรัมจะได้รับไฟเบอร์ดังนี้

ใบแมงลัก รับประทาน100กรัม จะได้ไฟเบอร์ 8.2กรัม

ใบย่านางรับประทาน 100กรัม จะได้ไฟเบอร์ 7.9กรัม

มะขามฝักอ่อน 6.3กรัม....มะเขือพวง 6.1กรัม....พริกไทยอ่อน 6.1กรัม

ยอดชะอม 5.7กรัม....พริกขี้หนูเม็ดเล็ก 5.2กรัม....ผักกุ่มดอง 4.9กรัม

ใบชะพลู 4.6กรัม....ดอกขี้เหล็ก 4.3กรัม....ใบทองหลาง 4.1กรัม

ใบยอ 4.0กรัม.....ใบโสน 3.9กรัม......ยอดกระถิน 3.8กรัม

ใบขี้เหล็ก 3.7กรัม....ผลมะอึก 3.6กรัม

(ที่มา: งานวิจัยกองโภชนาการ,2524 กระทรวงสาธารณะสุข)

5. กลุ่มผักพื้นบ้านที่มีวิตามิน Aสูง

วิตามิน A,มีหน่วยเป็น iu ส่วนที่รับประทานได้ 100กรัมจะได้รับวิตามินA

ใบย่านาง 30,625 iu.....มะระยอดอ่อน 14,167iu....ผักแว่น 12,166 iu

ใบแมงลัก 10,666 iu.......ยอดชะอม 10,066 iu....ยอดผักเม็ก 9,667iu..

ยอดผักปลัง 9,316 iu.......ใบชะพลู 8,824 iu.....ใบตำลึง 8,608 iu ....

ใบผักหวานบ้าน 8,500 iu.....ดอกขี้เหล็ก 8,221 iu....ยอดกระถิน 7,883 iu

ใบขี้เหล็ก 7,625 iu ..........ยอดติ้ว 7,500 iu.........ใบชะมวง 7,333 iu..

ผักกูดเขียว 1,167 iu....ยอดผักหนาม 6,383 iu....ยอดสะเดา 6,375 iu....

ผักบุ้ง 6,326 iu........พริกไทยอ่อน 6,209 iu.......ผักกุ่มดอง 6,083 iu...

(ที่มา: งานวิจัยกองโภชนาการ,2524 กระทรวงสาธารณะสุข )

6. กลุ่มผักพื้นบ้านที่มีวิตามิน B1 สูง

ส่วนที่รับประทานได้ 100กรัม จะได้รับวิตามิน B1 เป็นมิลลิกรัม (มก.)

มะขามยอดอ่อน 1.18มก. .มะระยอดอ่อน 1.00 มก..มะกอกยอดอ่อน 0.96 มก..

ใบผักชีลาว 0.94 มก...ยอดผักหนาม 0.92 มก....พริกหนุ่ม 0.36 มก....

ผักกูดยอดอ่อน 0.34 มก..................ใบยอ 0.30 มก..................

7. กลุ่มผักพื้นบ้านที่มีวิตามิน B2สูง

ส่วนที่รับประทานได้ 100กรัมจะได้รับวิตามิน B2เป็นมิลลิกรัม (มก.)

ดอกขี้เหล็ก 3.26 มก.....ยอดอ่อนผักหวานบ้าน 1.65 มก...ยอดอ่อนกระโดน 0.88มก.

ใบขี้เหล็ก 0.69 มก.....ยอดติ้ว 0.67 มก.....ยอดผักเม็ก 0.60 มก........

ดอกโสน 0.40 มก.......ใบย่านาง 0.36 มก......ใบแมงลัก 0.35 มก.....

มะขามฝักอ่อน 0.34 มก..ยอดแค 0.33 มก..ยอดจิก 0.32 มก. กระชาย 0.30 มก.

(ที่มา: งานวิจัยกองโภชนาการ,2524. กระทรวงสาธารณะสุข)

8.กลุ่มผักพื้นบ้านที่มี วิตามิน B3สูง(Niacin ไนอะซีน)

ส่วนที่รับประทานได้ 100กรัมจะได้รับวิตามิน B3เป็นมิลลิกรัม (มก.)

ใบชะพลู 16.20 มก.....ยอดชะอม 8.50 มก........ผลมะแว้งเครือ 8.40 มก...

ใบยอ 7.20 มก..........ยอดกระถิน 5.40 มก..............ผลมะอึก 4.90 มก....

ใบทองหลาง 4.70 มก.....ใบตำลึง 3.80 มก....ยอดผักหวานบ้าน 3.60 มก...

กระชาย 3.50 มก..ยอดสะเดา 3.50 มก...ใบผักแว่น 3.40 มก.ยอดผักบุ้ง 3.20 มก.

9.กลุ่มผักพื้นบ้านที่มีวิตามิน C สูง

ส่วนที่รับประทานได้ 100กรัม จะได้รับวิตามินซีเป็นมิลลิกรัม (มก.)

พริกชี้ฟ้าเขียว 204 มก.....ยอดสะเดา 194 มก...มะระขี้นกไทยผลเล็ก 190 มก...

พริกหนุ่ม 188 มก.....ยอดกระโดน 216 มก.....ฝักขี้หูด 125 มก......

พริกชี้ฟ้าแดง 168 มก.....ผลสมอไทย 116 มก......ยอดมะระ 110 มก...

( มะขามบ้อม 1ผล จะมีวิตามินซี มากว่าส้ม 10 ผล)

( ที่มา: งานวิจัยกองโภชนาการ, 2524.กระทรวงสาธารณะสุข )

88888888888888888888888888888888888888888

10. กลุ่มพืชผักพื้นบ้านที่มีวิตามินและมีธาตุอาหารสูงมีคุณค่าทางยา

คุณค่าทางอาหารของส่วนที่รับประทานได้ (ต่อ 100กรัม)

(1) ผลกระกระเจ๊ยบเขียว:รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 72.7 มก.

รับประทาน 100กรัม จะได้รับธาตุเหล็ก 0.8มก.**วิตามินA789 iuยูนิต

**วิตามินบี1, 0.05มก.**วิตามินบี2, 0.05มก.**วิตามินซี 39.7มก.**

ผลอ่อนเป็นยาหล่อลื่น ใช้ในโรคหนองในได้

ใบกระเจี๊ยบเขียว: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 209.3 มก.

**ธาตุเหล็ก 6.4มก.**วิตามินบี2, 0.34มก.

ใบกระเจี๊ยบเขียวใช้เป็นยากัดเสมหะ แก้ไอได้ดีมาก

(2).กระชาย: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 31.7มก.

**ธาตุเหล็ก 1.8มก.**วิตามินบี1, 0.05มก.**วิตามินบี2, 0.10มก.**

วิตามินซี 4.1มก.**เหง้าใช้เป็นยาแก้ปวดมวน, แก้บิด,แก้ท้องอืด,ใจสั่น

(3).กะทือ: รับประทาน 100กรัมจะได้รับ แคลเซี่ยม 15.6มก.**

**ธาตุเหล็ก 0.4มก.**วิตามินบี1,0.01มก.**วิตามินบี2, 0.05มก.**

วิตามินซี 1.2มก.**หัวใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ,บำรุงน้ำนม

(4).ต้นกระเทียม: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 98.0มก.

**ธาตเหล็ก 1.7มก.**วิตามินเอ 6744 iu(ยูนิต)**วิตามินบี1, 0.03มก.**

**วิตามินบี2, 0.10มก.**วิตามินซี 29.1มก.**

ใบ :ใช้เป็นยาทำให้เสมหะแห้ง, แก้จุกเสียดแน่นท้อง

ต่อ: หัวแห้งกระเทียม : รับประทาน100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 27.3มก.

**ธาตุเหล็ก 1.6มก.**วิตามินบี1,0.17มก.**วิตามินบี2, 0.02มก.**

วิตามินซี 11.3มก.*หัวใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ,

แก้กลากเกลื้อน, ช่วยขับลมในกระเพาะ และแก้จุกเสียดแน่นท้อง

(5).กะเพรา: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 310มก.**

**ธาตุเหล็ก 2.2มก.*ใบและทั้งต้นใช้เป็นยาขับลม, แก้ท้องอืด,ท้องเฟ้อ,

(6).ข่า: รับประทาน 100กรัมจะได้รับธาตุเหล็ก 14.7มก.**

**ธาตุเหล็ก 1.3มก.**วิตามินบี1, 0.02มก.**วิตามินบี2,0.02มก.**

วิตามินซี 2.9มก.*เหง้าใช้เป็นยาขับลม, แก้ฟกบวม

(7).ขิง: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 21.0มก.**

**ธาตุเหล็ก 0.5มก.**วิตามินบี1, 0.02มก.**วิตามินบี2,0.02มก.

เหง้าสดใช้เป็นยาแก้ลม,แก้จุกเสียด,เจริญอาหารได้ดี

เหง้าแห้งใช้เป็นยาแก้ลมจุกเสียด,แก้เสมหะ, บำรุงธาตุได้ดีมาก

(8).ขมิ้นชัน: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 18.5มก.

**ธาตุเหล็ก 0.9มก.**วิตามินบี1, 0.02มก.**วิตามินบี2, 0.03มก.**

หัวขมิ้นชันใช้เป็นยาแก้ไอ,ขับลม,ใช้ภายนอกรักษาโรคผิวหนัง

(9).ใบขี้เหล็ก: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 100.8มก.

**ธาตเหล็ก 0.3มก.**วิตามินบี2, 0.85มก.**วิตามินซี 74.0มก.**

ใบขี้เหล็กใช้เป็นยาแก้ระดูขาว,ใช้เป็นยาระบายได้ดี

ต่อ; ดอกขี้เหล็ก; รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 24.1มก.**

**ธาตุเหล็ก 1.6มก. **วิตามินบี2, 0.54มก.*วิตามินซี 397.8มก.(สูง)

(10).คึ้นฉ้าย: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 234.2มก.

**ธาตุเหล็ก 3.3มก.**วิตามินเอ 4026 iu(ยูนิต)**วิตามินบี1,0.25มก.**

**วิตามินบี2, 0.17มก.**วิตามินซี 99.6มก.**

ทั้งต้นใช้เป็นยาขับลม, ขับปัสสาวะ,ขับระดู,ลดความดันโลหิต,เจริญอาหาร

(11).ดอกแค; รับประทาน 100กรับจะได้รับแคลเซี่ยม 14.8มก.**

**ธาตุเหล็ก 1.7มก.**วิตามินบี1, 0.10มก.**วิตามินบี2, 0.12มก.**

วิตามินซี 34.7มก.*เปลือกที่ต้นใช้เป็นยาแก้ท้องเดินได้ดี**

(12).ใบยอดชะอม: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 46.7มก.

**ธาตุเหล็ก 2.7มก.**วิตามินเอ 3344 iu(ยูนิต)**วิตามินบี1, 0.35มก.

**วิตามินบี2, 0.36มก.**วิตามินซี 84.4มก.****

รากใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ, แก้ขับลมในท้องได้ดา

(13).ตะไคร้: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 44.6มก.**

**ธาตุเหล็ก 3.6มก.**วิตามินเอ 27 iu.**วิตามินบี1,0.05มก.**

**วิตามินบี2 0.02มก.*ต้นตะไคร้ดับกลิ่นคาวได้ดี

ต้นตะไคร้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ, บำรุงธาตุ, ยาเจริญอาหารได้ดี**

(14).ผลดิบตำลึง: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 18.1มก**

**ธาตุเหล็ก 1.1มก.**วิตามินเอ 685 iu.**วิตามินบี1, 0.06มก.**

วิตามินบี2, 0.06มก.**วิตามินซี 9.1มก.*ใบใช้เป็นยาดับพิษร้อน

ใบตำลึงตำคั้นเอาน้ำทำเป็นยาแก้โรคตาได้ดี, ทำให้ตาใสขึ้น

ต่อ: ใบยอดอ่อนตำลึง: รับประทาน 100กรัมจะได้รับแคลเซี่ยม 58.7มก.*

**ธาตุเหล็ก 3.0มก.**วิตามินเอ 4563 iu.**วิตามินบี1, 0.17มก.**

วิตามินบี2, 0.13มก.**วิตามินซี 31.0มก.**

เถาของตำลึงใช้เป็นยาถอนพิษได้ดีมาก(ใช้ภายนอก)

(15).ฝักถั่วพู: รับประทานได้ 100กรัม จะได้รับแคลเซี่ยม 32.9มก.**

**ธาตุเหล็ก 3.7มก.**วิตามินบี1, 0.35มก.**วิตามินบี2, 0.14มก.**

ฝักและ เมล็ดถั่วพู ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง, แก้ไข้ร้อนใน

หัวของถั่วพูใช้เป็นยาชูลัง กินแล้วมีแรง มีกำลังดีมาก


88888888888888888888888888888888888888
ใบย่านางพืชเพื่อสุขภาพโดยแท้
ใบย่านาง 100กรัมหรือ1ขีดให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
วิตามินเอ 30,625 IU .....เส้นใย 7.9 กรัม ..... แคลเซี่ยม 155 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม...เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม... พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่
วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม................... วิตามินบีสอง 0.36 มิลลิกรัม
ไนอาซิน(B3) 1.40 มิลลิกรัม.......................... วิตามินซี 141 มิลลิกรัม
โปรตีน 15.5 เปอร์เซ็น.ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซ็น.โพแทสเซี่ยม 1.29 เปอร์เซ็น
อาการ หรือโรคที่เกิดจาภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
สามารถใช้น้ำใบย่านางดื่มเพื่อปรับสมดุล บำบัดและบรรเทาได้
1.ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียวตาไม่ค่อยมีขี้ตา
2.มีสิวฝ้า มีตุ่มแผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
3.นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย ผมหงอกก่อนวัย
4.รูขุมขนขยายโดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
5. ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
6 มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง มีรอยจ้ำเขียวคล้ำ
7. ปวดบวมแดง ร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
9. กล้ามเนื้อแกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อยๆ
10.ผิวหนังผิดปกติคล้ายรอยไหม้ เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสีย
11. ตกกระสีน้ำตาลหรือสีดำตามร่างกาย
12.ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนคล้ายขี้แพะ มีท้องเสียแทรก
13.ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้มมีปัสสวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมากๆ
จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมากับปัสสวะ มักลุกปัสสาวะ
ช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2(คนที่ร่างกายปกติ สมดุลดี จะไม่ตื่นปัสสาวะกลางดึก
14.ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีอาการท้องอืดร่วมด้วย
15. มีผื่นที่ผิวหนังแดงคัน มีตุ่มใสคัน เป็นเริม งูสวัด
16.หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลืองหรือสีเขียว
17.โดยสารยานยนต์ มักอ่อนเพลียและหลับขณะเดินทาง
18.เป็นเลือดกำเดาออกบ่อย ชอบง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ๆ
19. อาการยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
20.เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีก ง่าย มีสีน้ำตาล
หรือสีดำคล้ำ อักเสบบวมแดงที่โคนเล็บ
21.หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นใส้ อาเจียนมักแสดงอาการ
เมื่ออยู่ในที่อับ หรืออากาศร้อน ทำงานเกินกำลัง เปลี่ยนอิริยาบบถเร็วเกิน
22. เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือรู้สึกเหมือนมีไฟฟ้าช็อต
มีอาการรู้สึกเหมือนไฟเผาตามร่างกายทั้งที่ไม่โดนไฟ
23.อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
24.เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมากจะเจ็บ
แปล้บที่หน้าอก และร้าวไปที่แขน
25.เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
26.ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า ช้ำ ออกร้อนเหมือนไฟช็อต
27. อาการเกร็ง อาการชัก กล้ามเนื้กระตุก กระตุก
28.โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ได้แก่โรคหัวใจ เป็นหวัดร้อน
ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ ตับอักเสบ
กระเพาะอาหารลำใส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต
ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก หอบหืดไตอักเสบไตวาย นิ่วในไต
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่งถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน
ต่อมลูกหมากโต โรคเกาต์ ความดันโลหิตสูง เบาหวานเนื้องอก มะเร็ง
พิษของแมลงสัตว์กัดต่อย สามารถใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล
(คลอโรฟิลเป็นสารสีในพืชมีประโยชน์สูงมากๆ) คุ้มครองเซล
ฟื้นฟูเซลปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล
แบบร้อนเกินใช้ใบย่านางแก้อาการได้ แบบได้ผลจริงๆ

***by. สุด เมืองสีนุ่น mrgoodmind@gmail.com ***





ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก

รวมสาระที่มีประโชน์

รูปภาพของฉัน
RORMYEN ร่มเย็น RORMYEN โดย สุดเมืองสีนุ่น เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ ความคิดเห็นของผม บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูง บริษัท กูเกิ้ลดอทคอม ที่ให้พื้นที่แสดงความคิดเห็น